|
|
|
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ |
|
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่ให้ผู้สอนใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียนซึ่งข้อมูลที่แสดงพัฒนาการความก้าวหน้าความสำเร็จทางการเรียนของผู้เรียน
จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพและเพื่อตัดสินผลการเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือการประเมินและ
ตัดสินผลการเรียนให้ผู้เรียนจบการศึกษา แต่ละช่วงชั้นจบหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับและจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามเกณฑ์มาตรฐานการผ่านช่วงชั้นและจบ
หลักสูตรที่กำหนดไว้ ดังนี้
|
|
1. การประเมินสาระการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ |
|
เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของ 8 กลุ่มสาระ ดังนี้ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ |
|
เกณฑ์การตัดสินผลการเรียน |
|
ระดับผลการเรียน 4 |
หมายถึง ผลการเรียน ดีเยี่ยม |
(80 – 100 คะแนน) |
ระดับผลการเรียน 3.5 |
หมายถึง ผลการเรียน ดีมาก |
(75 – 79 คะแนน) |
ระดับผลการเรียน 3 |
หมายถึง ผลการเรียน ดี |
(70 – 74 คะแนน) |
ระดับผลการเรียน 2.5 |
หมายถึง ผลการเรียน ค่อนข้างดี |
(65 – 69 คะแนน) |
ระดับผลการเรียน 2 |
หมายถึง ผลการเรียน น่าพอใจ |
(60 – 64 คะแนน) |
ระดับผลการเรียน 1.5 |
หมายถึง ผลการเรียน พอใจ |
(55 – 59 คะแนน) |
ระดับผลการเรียน 1 |
หมายถึง ผลการเรียน ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ |
(50 – 54 คะแนน) |
ระดับผลการเรียน 0 |
หมายถึง ผลการเรียน ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ |
(0 – 49 คะแนน) |
|
|
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ( ม.1 - 6) มีการประเมินผล การเรียนรู้เป็นรายภาคเรียน |
|
2. การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ |
|
เป็นการประเมินด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ กำหนดเกณฑ์การประเมินเป็นระดับคุณภาพ ดังนี้ |
|
ระดับ 3 |
หมายถึง |
ดีเยี่ยม |
ระดับ 2 |
หมายถึง |
ดี |
ระดับ 1 |
หมายถึง |
ผ่าน |
ระดับ 0 |
หมายถึง |
ไม่ผ่าน |
|
|
3. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ |
|
เป็นการประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด ดังนี้ |
|
ระดับ 3 |
หมายถึง |
ดีเยี่ยม |
ระดับ 2 |
หมายถึง |
ดี |
ระดับ 1 |
หมายถึง |
ผ่าน |
ระดับ 0 |
หมายถึง |
ไม่ผ่าน |
|
|
4. การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน |
มีเกณฑ์การประเมิน ดังนี้ |
|
ผ หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาร่วมกิจกรรมแต่ละกิจกรรมร้อยละ 80 และมีคะแนนรวมของจุดประสงค์การเรียนรู้ร้อยละ 80 |
|
มผ หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาร่วมกิจกรรมแต่ละกิจกรรมไม่ถึงร้อยละ 80 และมีคะแนนรวมของจุดประสงค์การเรียนรู้ไม่ถึงร้อยละ 80 |
|
5. เกณฑ์การตัดสินผลการเรียนผ่านช่วงชั้นและจบหลักสูตรการศึกษา |
|
1. ผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินสาระการเรียนรู้ครบทั้ง 8 กลุ่ม (ภาษาไทย,คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ, สุขศึกษาและพลศึกษา,การงานอาชีพและเทคโนโลยี, ภาษาต่างประเทศ) และได้รับการตัดสินผลการเรียนให้ได้ตาม เกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด |
|
2. ผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความให้ได้ตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด |
|
3. ผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด |
|
4. ผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนครบทุกกิจกรรม ตามเกณฑ์ ที่โรงเรียนกำหนด |
|
6. การขอมีสิทธิ์สอบปลายภาค กรณีมีเวลาเรียนไม่ครบ 80 % |
|
1. คุณครูประจำวิชาแจ้งชื่อนักเรียนที่มีเวลาเรียนไม่ครบ 80 % ก่อนสอบ 2 สัปดาห์ |
|
2. นักเรียนที่มีเวลาเรียนไม่ครบ 80 % นำจดหมายจากงานทะเบียนและวัดผลแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ |
|
3. ผู้ปกครองและนักเรียนพบเจ้าหน้าที่งานทะเบียนวัดผล เพื่อเขียนคำร้องขอมีสิทธิ์สอบที่ห้องทะเบียนและวัดผลประเมินผล |
|
4. เสนอรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ |
|
5. รอฟังผลการพิจารณาจากผู้อำนวยการ และจะประกาศผลก่อนวันเริ่มสอบ 1 วัน |
|
7. การขอสอบกรณีพิเศษ |
|
นักเรียนคนใดเกิดเจ็บป่วยอย่างกะทันหันตอนใกล้สอบ และไม่สามารถมาสอบได้ ให้ปฏิบัติดังนี้ |
|
1. ผู้ปกครองมาพบเจ้าหน้าที่งานทะเบียนวัดผลที่ห้องวิชาการ |
|
2. ยื่นคำร้องพร้อมแนบใบรับรองแพทย์ |
|
3. นัดหมายเวลาที่จะมาสอบกับโรงเรียน |
|
8. การเปลี่ยนผลการเรียน 0 และการสอนซ่อมเสริม |
|
1. จัดให้เรียนซ่อมเสริมในตัวชี้วัดที่สอบไม่ผ่าน แล้วจึงสอบแก้ตัว ให้สอบแก้ตัวได้ไม่เกิน 2 ครั้ง การสอบแก้ตัวให้ได้ระดับผลการเรียนไม่เกิน “1” |
|
2. ถ้าสอบแก้ตัว 2 ครั้งแล้วยังได้ระดับผลการเรียน “0” อีก หรือ ไม่มาสอบแก้ตัวตามระยะเวลาที่กำหนด ให้เรียนซ้ำรายวิชานั้นถ้าเป็นรายวิชาพื้นฐาน
ให้เรียนซ้ำรายวิชานั้นหรือเปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่ ถ้าเป็นรายวิชาเพิ่มเติม โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา |
|
9. การนับเวลาเรียน และการเปลี่ยนผลการเรียน “มส” |
|
1. ถ้ามีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 แต่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของเวลาเรียนในแต่ละวิชา จะได้ “มส” หมายถึงไม่มีสิทธิ์เข้าสอบหรือไม่มีสิทธิ์เข้ารับ
การประเมินปลายภาค ต้องเรียนเพิ่มเติมโดยใช้เวลาสอนซ่อมเสริม หรือเวลาว่าง หรือวันหยุด หรือมอบหมายงานให้ทำจนมีเวลาเรียนครบตาม
ที่กำหนดในรายวิชานั้นแล้วจึงให้สอบ ผลการสอบแก้ “มส” ให้ได้ระดับผลการเรียนไม่เกิน “1” |
|
2. ถ้ามีเวลาเรียนน้อยกว่าร้อยละ 60 ของเวลาเรียนในแต่ละวิชา ให้เรียนซ้ำในรายวิชานั้น |
|
10. การเรียนซ้ำรายวิชา/ซ้ำชั้น |
|
สถานศึกษาจะจัดให้ผู้เรียนเรียนซ้ำใน 2 กรณี ดังนี้ |
|
กรณีที่ 1 เรียนซ้ำรายวิชา หากผู้เรียนได้รับการสอนซ่อมเสริมและสอบแก้ตัว 2 ครั้งแล้วไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ให้เรียนซ้ำรายวิชานั้น
ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาในการจัดให้เรียนซ้ำในช่วงใดช่วงหนึ่งที่สถานศึกษาเห็นว่าเหมาะสม เช่น พักกลางวัน วันหยุด
ชั่วโมงว่างหลังเลิกเรียน ภาคฤดูร้อน เป็นต้น |
|
กรณีที่ 2 เรียนซ้ำชั้น มี 2 ลักษณะ คือ |
|
- ผู้เรียนมีระดับผลการเรียนเฉลี่ยในปีการศึกษานั้นต่ำกว่า 1.00 และมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น |
|
- ผู้เรียนมีผลการเรียน 0, ร, มส เกินครึ่งหนึ่งของรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนใน ปีการศึกษานั้น |
|
ทั้งนี้ หากเกิดลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือทั้ง 2 ลักษณะให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการการพิจารณา หากเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควรก็ให้ซ้ำชั้น
โดยยกเลิกผลการเรียนเดิมและให้ใช้ผลการเรียนใหม่แทน หากพิจารณาแล้วไม่ต้องเรียนซ้ำชั้นให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาในการแก้ไข
ผลการเรียน |
|
หน้าต่อไป > |