|
|
|
|
|
|
|
หลักการ
|
|
|
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้
|
|
|
1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ
และคุณธรรม บนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล |
|
|
2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ |
|
|
3. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น |
|
|
4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้ |
|
|
5. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ |
|
|
6. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์ |
|
|
|
|
|
จุดหมาย
|
|
|
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุขมีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
|
|
|
1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
|
|
2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต |
|
|
3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย |
|
|
4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข |
|
|
5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข |
|
|
|
|
|
หลักสูตรห้องเรียนพิเศษ ภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ (EP) นั้น โรงเรียนได้ดำเนินการมุ่งสู่โครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
และให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนสถานศึกษาชุมชนท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งในการบริหารและ
การจัดการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนการวัดและประเมินผล รวมทั้งการวัดปัจจัยเกื้อหนุนการพัฒนาคุณภาพนักเรียน ชุมชน ท้องถิ่นได้อย่างมี
คุณภาพและมีประสิทธิภาพ ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป |
|
|
|
|
|
โรงเรียนตะกั่วป่า “เสนานุกูล” ได้จัดแผนการเรียนดังกล่าวรองรับผู้เรียน ซึ่งมีมาตรฐานบริหารภารกิจ ดังนี้ |
|
|
|
|
|
โรงเรียนมาตรฐานสากล (WORLD-CLASS STANDARD SCHOOL) |
|
|
|
|
|
1. ลักษณะการเป็นมาตรฐานสากล ประกอบด้วย
|
|
|
1.1 การจัดการเรียนการสอน มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ |
|
|
1.2 บริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพตามขั้นตอนของ TQA
|
|
|
2. คุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากลมี ดังนี้
|
|
|
2.1 ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen) เป็นเลิศวิชาการ สื่อสาร สองภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก |
|
|
2.2 การจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) |
|
|
2.3 บริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ (Quality System Management)
|
|
|
3. วัตถุประสงค์โรงเรียนมาตรฐานสากล
|
|
|
3.1 พัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen) |
|
|
3.2 ยกระดับการจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) |
|
|
3.3 ยกระดับการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ (Quality System Management) |
|
|
|
|
|
แนวทางการบริหารและดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา |
|
|
|
|
|
1. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เทียบเคียงกับหลักสูตรมาตรฐานสากลโดยนำจุดเด่นจากหลักสูตรต่าง ๆ เช่น |
|
|
|
|
|
1.1 หลักสูตร English Program (EP) |
|
|
1.2 หลักสูตร ความเป็นเลิศเฉพาะทาง (ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์) โดยทุกหลักสูตร ปรับเนื้อหาวิชาพื้นฐานต่าง ๆ ให้มีความเข้มข้นเทียบเคียงกับ
มาตรฐานสากลและจัดให้มีกิจกรรมการเรียนการสอน/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน/รายวิชาเพิ่มเติม 3 วิชา ได้แก่
|
|
|
1. IS 1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ |
|
|
2. IS 2 การสื่อสารและการนำเสนอ |
|
|
3. IS 3 กิจกรรม เพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ |
|
|
|
|
|
2. พัฒนาการเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โดยใช้ภาษาอังกฤษ |
|
|
|
|
|
3. พัฒนาครูผู้สอน |
|
|
|
|
|
3.1 พัฒนาครูผู้สอนในสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่ 2 (ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส และอื่น ๆ ร่วมกับศูนย์ภาษาต่างประเทศที่ 2) |
|
|
3.2 พัฒนาครูผู้สอน สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์เพื่อใช้ภาษาอังกฤษในการจัดการเรียนการสอน |
|
|
|
|